วิธีปฏิบัติ เอาหลักสายกลางมาตั้งในวิถีชีวิต

วิธีปฏิบัติ เอาหลักสายกลางมาตั้งในวิถีชีวิต

การดำเนินชีวิตก็จะคิดถูก พูดถูก ทำถูก แล้วจะเอาหลักสายกลาง หรือกฎธรรมชาติ ๒ กฎ หรือไม่เที่ยงเกิดดับ หรือสัมมา มาตั้งไว้ ตรงไหน ทุกข์มันเกิดที่ไหน ก็เอาหลักสายกลาง หรือไม่เที่ยงเกิดดับมาตั้งไว้ตรงนั้น

วิถีชีวิตของคนเราเริ่มต้นตรงไหน เมื่อใด วิถีชีวิตเริ่มต้นที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เอาหลักสายกลาง หรือไม่เที่ยงเกิดดับมาตั้งไว้ตรงนั้น แล้วจะตั้งเมื่อใด ตั้งเมื่อคนเราตื่นนอนขึ้นมา เพราะชีวิตเริ่มต้นตั้งแต่คนเราตื่นขึ้นมา นามธรรม รูปธรรม หรือร่างกายของคนเราจะทำงานร่วมกันกับจิตใจ โดยการคิด การพูด การกระทำ ผลการกระทำก็จะเกิดขึ้น ใจก็จะเก็บเป็นสัญญาความจำเอาไว้ใช้ต้อนรับการกระทบสัมผัสครั้งต่อไป ถ้าข้อมูลเอามาวางไว้ในอินทรีย์ ๖ ผิด ก็ทำให้คิดผิด พูดผิด ทำผิด ผลผิดก็เกิดขึ้นทำให้เกิดทุกข์ แต่ถ้าข้อมูลถูก ก็จะทำให้คิดถูก พูดถูก ทำถูก ผลถูกก็เกิดขึ้น ทำให้เกิดสุข

วิธีทำ ตื่นขึ้นมาเอาไม่เที่ยงเกิดดับ มาตั้งไว้ที่ขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา หรือท่องจำคำตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ผ่านอินทรีย์ ๖ เข้าไปเก็บไว้เป็นสัญญาความจำไว้ในใจ แทนข้อมูลอวิชชา หรือความพอใจ ไม่พอใจ หรือความไม่รู้ ที่คนเราบำเพ็ญมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่ต้องตกใจข้อมูลอวิชชาก็เป็นธรรมชาติ ต้องการอาหารเป็นเหตุปัจจัยตลอดเวลา ถ้าไม่มีอาหารกิน ข้อมูลอวิชชาก็ตายไปจากตัวเราได้ ระหว่างที่อวิชชาตายไปตามธรรมชาติ เราต้องรีบใส่ปัญญาของพระพุทธเจ้า คือ กฎธรรมชาติ ๒ กฎ หรือไม่เที่ยงเกิดดับ เข้าไปแทนที่ทันที ใจของเราก็จะเก็บไม่เที่ยงเกิดดับไว้ในใจ แต่ข้อมูลที่เป็นอวิชชาที่มันตายไปจากใจของเรา เพราะไม่มีอาหารกิน (อาหารของมัน คือความพอใจ ไม่พอใจใหม่นั่นแหละ) นั้นมันยังคงค้างพฤติกรรมของอวิชชาไว้ เพื่อสร้างอวิชชาใหม่ขึ้นมาแทนของเดิม

ถ้าคนเราไม่เข้าใจว่า ตัวของคนเรานั้น พฤติกรรมความเคยชินของความไม่รู้ เป็นผู้ควบคุมตัวคนเราอยู่ ชีวิตของคนเรายังดำเนินไปตามพฤติกรรมของความไม่รู้อยู่ตลอดเวลา พฤติกรรมนั้นมันถ่ายทอดมาจากความคิด มโนกรรม, คำพูด วจีกรรม, การกระทำทางกาย หรือกายกรรม, เพราะมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม มีความชำนาญมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ในการใช้อวิชชาหรือความไม่รู้ ความไม่รู้มันตามทันตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลา ทำให้ความพอใจ ไม่พอใจไปปรุงแต่งสิ่งที่มากระทบสัมผัส แล้วเอาผลการกระทบสัมผัส หรือกรรมไปเก็บไว้ในใจ ต่อมาก็ถ่ายทอดออกไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผ่านมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ไปตลอดชีวิต คนเราก็สั่งสมความเห็นผิดให้กับตนเองตลอดเวลา จนคนเราไม่รู้อะไร แต่รู้เฉพาะความเห็นผิดเท่านั้น อย่างอื่นไม่สามารถจะรู้ได้

ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องเปลี่ยนข้อมูลสัญญาความจำใหม่ เป็นสัญญาความจำที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ กฎธรรมชาติ ๒ กฎ ลงไปแทนสัญญาความจำเก่า โดยการวิปัสสนาภาวนาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ดังนี้

๑. ตาเห็นรูป รูปไม่เที่ยงเกิดดับ ตัวฉันไม่เที่ยงเกิดดับ

๒. หูได้ยินเสียง เสียงไม่เที่ยงเกิดดับ ตัวฉันไม่เที่ยงเกิดดับ

๓. จมูกได้กลิ่น กลิ่นไม่เที่ยงเกิดดับ ตัวฉันไม่เที่ยงเกิดดับ

๔. ลิ้นได้รส รสไม่เที่ยงเกิดดับ ตัวฉันไม่เที่ยงเกิดดับ

๕. กายสัมผัส สัมผัสไม่เที่ยงเกิดดับ ตัวฉันไม่เที่ยงเกิดดับ

๖. ใจคิดนึก ความคิดไม่เที่ยงเกิดดับ ตัวฉันไม่เที่ยงเกิดดับ

ให้ท่องจำอย่างนี้จนเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ให้เกิดเป็นความเคยชิน หรือพฤติกรรมของการวิปัสสนาภาวนา หรือท่องจำอย่างนี้ตลอดเวลา เพื่อสร้างนิสัยในการเจริญปัญญา ดับอวิชชา เมื่ออวิชชาไม่มีอาหารใหม่เข้าไปเพิ่มเติม มันก็จะแตกสลายไป แล้วก็เอาไม่เที่ยงเกิดดับ ไปกำหนดรู้โลกที่เราไปเกี่ยวข้อง ให้เห็นความจริงของโลกและชีวิต ตามความเป็นจริงที่มันเป็น พระพุทธเจ้าบอกว่าสามารถฝึกฝนตนเองเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ภายใน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เรียกว่าทางสายเอกสายเดียวที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้ ทางสายนี้จะต้องใช้ความเพียรพยายามตลอดเวลา เพราะอวิชชาที่ต้องละนั้นมันมีกำลังมาก และมันมีความเคยชินหรือพฤติกรรมควบคุมวิถีชีวิตของคนเราอยู่ จะต้องไม่เปิดโอกาสให้อวิชชาทำหน้าที่ควบคุมตัวเราได้ จำเป็นจะต้องมีไม่เที่ยงเกิดดับปิดทางปรุงแต่งของมันให้ได้ จะปิดได้ก็ต่อเมื่อไม่เที่ยงเกิดดับถูกฝึกเป็นพฤติกรรมให้ได้ ความคิดสู้พฤติกรรมไม่ได้ ต้องใช้พฤติกรรมทางปัญญาเอาชนะพฤติกรรมอวิชชา (พฤติกรรม คือ ความเคยชินที่เกิดจากการทำซ้ำ)

คนเราเอาความไม่รู้ไปทำซ้ำในการดำเนินชีวิต

จะต้องเปลี่ยนตัวผู้ควบคุมสั่งการในชีวิตของเรา

จึงเน้นให้พวกเราชาวพุทธให้มีปัญญาก่อน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy