แชร์

สาเหตุจลาจลในเมืองลพะ ในปี พ.ศ.๑๑๗๖

อัพเดทล่าสุด: 1 ก.พ. 2024
157 ผู้เข้าชม
สาเหตุจลาจลในเมืองลพะ ในปี พ.ศ.๑๑๗๖

สาเหตุจลาจลในเมืองลพะ ในปี พ.ศ.๑๑๗๖  และการอพยพของพลเมือง

       สาเหตุหลักใหญ่เริ่มมาตั้งแต่โบราณ คือ  ผู้นำที่เป็นช่างใหญ่ ๔ เหล่าคือ

          ....ช่างตระกูลศิลปะเชียงแสน

          ....ช่างตระกูลศิลปะละโว้-อโยธยา

          ....ช่างตระกูลศิลปะสุโขทัย

          ....และช่างตระกูลศิลปะทวารวดี-อู่ทอง

       ซึ่งเรียกตามชื่อสกุลช่างปัจจุบัน    ความจริงช่างเหล่านี้ถ่ายทอดแบบอย่างมาจากศิลปะอินเดียคุปตะทั้งนั้น   แต่ละตระกูลช่างมีความชำนาญและพัฒนาฝีมือขึ้นมา  เพื่อการแข่งขัน  ถึงแม้จะมีการพยายามประสารศิลปะออกมาแบบกลาง ๆ   ก็ไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายใด   เพราะแต่ละฝ่ายต่างก็ถือว่าของตนดีกว่า

        อีกสาเหตุหนึ่ง คือ  พระเจ้าสันตระไม่ได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมมัวเมาแต่เรื่องอิสตรี   จนถึงกับลืมวันสำคัญที่จะต้องทำพิธีเฉลิมฉลอง  และสร้างพระ เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาที่เคยปฏิบัติมาในอดีต คือ วันเดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พ.ศ.๙๗๖   ในสมัยพระยาตะกะ วันเดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พ.ศ.๑๐๗๖   ในสมัยพระยาถะระ  และในสมัยของพระองค์เอง คือวันเดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พ.ศ.๑๑๗๖   พระองค์ไม่ได้จัดให้มีงานขึ้นจนเวลาล่วงเลยไปถึง ๒ เดือนเศษ   จึงได้มีการจัดงานขึ้น เมื่อวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ.๑๑๗๖   และในขณะจัดงานอยู่นั้นเอง   ผู้นำซึ่งประกอบด้วยเสนาอำมาตย์และหัวหน้าช่างทั้ง ๔ เหล่า  ต่างก็พาสมัครพรรคพวกเข้ามารบราฆ่าฟันกัน   จนพระเจ้าสันตระและพระมเหสีถูกปลงพระชนม์   เสนาอำมาตย์และตัวผู้นำเองต่างก็ประสบเคราะห์กรรม   ถูกฆ่าตายจนหมดสิ้น   ช่างฝีมือที่เหลืออยู่ต่างก็ขนย้ายเอาศิลปะวัตถุของตนเองหนีกันไปคนละทิศคนละทาง

          ....ช่างตระกูลศิลปะเชียงแสน  ก็หนีไปอยู่เชียงแสน

          ....ช่างตระกูลละโว้-อโยธยา  ก็หนีไปอยู่ลพบุรี-อโยธยา

          ....ช่างตระกูลศิลปะสุโขทัย  ก็พากันหนีไปสุโขทัย

          ....ช่างตระกูลศิลปะทวารวดี-อู่ทอง  ก็พากันหนีไปอยู่สุพรรณบุรี นครชัยศรี

        การแตกของเมืองลพะครั้งนี้ทำให้ภาษาโดยเฉพาะตัวอักษรและศิลปะวัตถุที่ชาวเมืองลพะ   รับถ่ายทอดมาจากชาวอินเดียคุปตะไปเกิดใหม่ยังจุดที่เราเรียกชื่อในปัจจุบัน   ในภาคเหนือของไทยในปัจจุบันก็รับเอาภาษาและวัฒนธรรมเชียงแสน จากเมืองลพะไปใช้  และเนื่องจากเป็นคนไต (ไทย) ด้วยกัน    จึงรักษาเค้าโครงของตัวอักษรได้ค่อนข้างดี  และพัฒนาต่อมา   เมื่อหมดยุคหริภุญชัยแล้วกลายเป็นภาษาลานนา   สำหรับชาวไทยขอมที่อยู่ลพบุรี-อโยธยาก็รับเอาภาษาและวัฒนธรรม ละโว้-อโยธยา   ของชาวลพะไปใช้และพัฒนากลายเป็นอักษร และศิลปะขอมในที่สุด   สำหรับชาวไทยสุโขทัย ที่เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย   ก็รับเอาภาษาและวัฒนธรรมสุโขทัยของชาวลพะ  ไปใช้และพัฒนากลายมาเป็นภาษาอักษร และศิลปะสุโขทัยในที่สุด   สำหรับชาวไทยมอญที่อยู่ทางใต้ลงไป ก็รับเอาภาษาและวัฒนธรรม ทวารวดี-อู่ทองจากชาวลพะ  และพัฒนากลายมาเป็นอักษรมอญ  และศิลปะทวารวดีและศิลปะอู่ทองในที่สุด  สาเหตุที่เป็นเช่นนี้   เพราะชาวลพะมีภาษาและวัฒนธรรมสูงกว่าเมื่อไปรวมกลุ่มอื่นก็สามารถเข้าครอบครองทางวัฒนธรรมได้   แล้วจึงเข้าสู่การบริหารโดยไม่ต้องทำสงคราม เมืองลพะกลายเป็นเมืองร้าง   สุเทวฤาษีจึงให้ศิษย์ทั้ง ๓ คน ไปขนเอาศิลปะวัตถุ  พระเครื่องอินเดียและพระเครื่องที่สร้างในรัชกาลต่าง ๆ   ตามที่จะหาได้ ไปก่อเป็นเจดีย์   ซึ่งเจดีย์นี้ได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา 

         ซึ่งต่อมาเมื่อมีการอพยพคนไตยอง และไตลื้อ   จากสิบสองปันนามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองไซ   ชาวบ้านได้สร้างวัดหนองไซขึ้นมา  และมีการนำพระของเมืองลพะมาประดับไว้ตามมุข และเพดานของโบสถ์วิหาร   ซึ่งพระเหล่านี้  บางครั้งหลุดตกลงมาและสูญหายไปเป็นจำนวนมาก   กลายเป็นของหายาก และมีของระบาดมากในปัจจุบัน   สำหรับเจดีย์ที่สุเทวฤาษีสั่งให้สร้างไว้นั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒   คณะกรรมการหมู่บ้านก็ได้มีการจ้างรถแทรกเตอร์มาเกลี่ยกลบ  และขุดเป็นสระน้ำขนาดใหญ่   พระเครื่องและของมีค่าที่อยู่ภายในจึงสูญหายไป  

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy